เมนู

ขึ้นเป็นของปฏิกูล ซากศพที่สีเขียวคล้ำเป็นของปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า
ตรัสประเภทอสุภะ 10 อย่าง ด้วยสามารถการถึงความเป็นเองของซากศพ
ดังนี้.

ว่าด้วยสัปปายะ 10 อย่าง



อนึ่ง ว่าโดยความแปลกกันในอสุภะ 10 เหล่านั้น ซากศพที่เป็น
อุทธุมาตกะ (พองขึ้น) เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในสรีรสัณฐาน เพราะ
ประกาศความพิบัติลงสรีรสัณฐาน. ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำเป็นสัปปายะแก่
บุคคลผู้ยินดีในสรีรวรรณะ เพราะประกาศความพิบัติความยินดีในผิว. ซาก
ศพที่มีน้ำหนองไหลเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในกลิ่นแห่งสรีระที่ปรุงแต่ง
ขึ้นด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น เพราะประกาศความเป็นกลิ่นเหม็น
อันเนื่องด้วยชนิดของศพ. ซากศพที่ถูกตัดเป็นท่อนเป็นสัปปยะแก่บุคคลผู้ยินดี
ในความเป็นฆนะ (แท่ง) แห่งสรีระ เพราะประกาศความโพรงแห่งกายใน
ภายใน. ซากศพที่ถูกสัตว์แทะกินเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในที่มีเนื้อนูนใน
ส่วนแห่งร่างกายมีถันเป็นต้น เพราะประกาศความพินาศแห่งการสมบูรณ์ด้วย
เนื้อนูน. ซากศพที่มีอวัยวะกระจัดกระจายไปเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในการ
เยื้องกรายแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ เพราะประกาศความกระจัดกระจายแห่งอวัยวะ
น้อยใหญ่. ซากศพที่ถูกตัดเป็นท่อน ๆ เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในการ
ถึงพร้อมแห่งโครงร่างกาย เพราะประกาศความพิการของโครงร่างกาย. ซากศพ
ที่มีเลือดติดเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในความงามอันเกิดแต่การประดับ
ตกแต่ง เพราะประกาศความปฏิกูลโดยการเปื้อนเลือด. ซากศพที่มีหมู่หนอน
ชอนไชเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในร่างกายว่าเป็นของเรา เพราะประกาศ

ถึงความที่ร่างกายเป็นของสาธารณะแก่ตระกูลหมู่หนอนมิใช่น้อย. ซากศพที่
เหลือแต่กระดูกเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในการสมบูรณ์แห่งฟัน เพราะ
ประกาศความเป็นของปฏิกูลแห่งกระดูกในสรีระ พึงทราบว่า ประเภทแห่ง
อสุภะ 10 อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แม้ด้วยอำนาจการทำลายราคจริต
ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในอสุภะ 10 อย่างนี้ จิตจะสงบดำรงอยู่ได้โดยกำลังของวิตกเท่านั้น
เว้นวิตกแล้วก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ เพราะความที่อารมณ์มีกำลังทรามโดยที่เป็น
ของปฏิกูล เหมือนเรือจอดอยู่ที่แม่น้ำมีกระแสอันไหลเชี่ยวไหลไปย่อมหยุดได้
ด้วยกำลังไม้ถ่อเท่านั้น เว้นจากไม้ถ่อก็ไม่อาจจอดอยู่ได้ ฉะนั้น เพราะฉะนั้น
ในอสุภกรรมฐานนี้ ย่อมมีเพียงปฐมฌานเท่านั้น ทุติยฌานเป็นต้นหามีได้ไม่.
อนึ่ง ในอารมณ์แม้เป็นของปฏิกูลนี้ ปีติและโสมนัสก็ย่อมเกิด เพราะ
ความที่พระโยคาวจรเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า เราจักพ้นจากชราและมรณะเพราะ
ปฏิปทานี้แน่แท้ และเพราะละความเร่าร้อนแห่งนิวรณ์ได้เหมือนคนเทดอกไม้
เห็นอานิสงส์ว่า วันนี้เราจักได้ค่าจ้างมาก จึงเกิดปีติโสมนัสในกองคูถ และ
เหมือนคนมีโรคเป็นทุกข์ เพราะพยาธิที่เกิดขึ้น มีความปีติโสมนัสในการเป็น
ไปแห่งการถ่ายยา ฉะนั้น.
ก็อสุภะนี้แม้ทั้ง 10 อย่าง โดยลักษณะก็มีอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยว่า
อสุภะแม้ 10 อย่างนี้ มีความเป็นของปฏิกูลโดยเป็นของไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็น
น่ารังเกลียดเท่านั้นเป็นลักษณะ โดยลักษณะนี้ อสุภะนี้นั้นจึงไม่ปรากฏใน
สรีระที่ตายแล้วอย่างเดียว ย่อมปรากฏแม้ในร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ เหมือน
พระมหาติสสเถระผู้อยู่ในวิหารเจติยบรรพตเกาะสีหลผู้เห็นกระดูกฟัน และ

เหมือนปรากฏแก่สามเณรอุปัฏฐาก พระสังฆรักขิตเถระซึ่งแลดูพระราชาผู้ประ-
ทับเหนือคอช้าง ฉะนั้น เพราะว่า ร่างกายที่ตายแล้วเป็นอสุภะฉันใด แม้
สรีระที่กำลังเป็นอยู่ก็เป็นอสุภะฉันนั้นนั่นแหละ แต่ว่า ในร่างกายที่ยังเป็นอยู่นี้
ลักษณะแห่งอสุภะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเครื่องประดับจรมาปิดบังไว้ ฉะนี้แล.
อสุภกถาจบ

ถามว่า ก็รูปาวจรอัปปนานี้ มีปฐวีกสิณเป็นต้น มีอัฏฐิกสัญญาเป็นปริโย-
สานเป็นอารมณ์เท่านั้นหรือ หรือแม้อย่างอื่นก็มีอยู่. ตอบว่า แม้อย่างอื่นที่เป็น
อารมณ์ก็มีอยู่. แต่ในอภิธรรมนี้ ไม่ได้ตรัสอานาปานฌานและกายคตาสติภาวนา
ไว้ แม้ไม่ตรัสไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ระบุถึงวาโยกสิณไว้ จึงเป็นอัน
ระบุถึง แม้อานาปานฌานโดยแท้. อนึ่ง เมื่อระบุถึงวรรณกสิณทั้งหลาย ก็เป็น
อันระบุถึงกายคตาสติที่เกิดขึ้นด้วยจตุกฌาน และปัญญจกฌานในโกฏฐาสมีผม
เป็นต้น. และในอสุภะ 10 อย่างทรงถือเอาแล้ว กายคตาสติที่เป็นไปด้วยอำนาจ
แห่งฌานที่มนสิการปฏิกูลในอาการ 32 และด้วยอำนาจแห่งฌานอันเกิดขึ้นแต่
วรรณะในป่าช้า 9 ชนิด ก็ย่อมเป็นอันทรงถือเอาแล้วเหมือนกัน. อัปปนา
ที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ย่อมเป็นอันตรัสไว้แล้วในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้.
รูปาวจรกถาจบ

อรูปาวจรกุศล



อรูปฌาน 4



[192] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง
รูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญ-
จายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย
วิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย